พันธกิจ



พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร
       โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)  กำหนดพันธกิจโดยสอดคล้องกับพันธกิจของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย  เพื่อฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเฉพาะทางสาขาจักษุวิทยา
  • มุ่งผลิตจักษุแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางจักษุวิทยาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการบริการสุขภาพทางด้านจักษุของชุมชนและสังคมของประเทศไทย   
โดยพันธกิจยังครอบคลุมถึงการฝึกอบรมเพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีคุณสมบัติตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน  สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล  ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพทางจักษุวิทยาอย่างมีเจตคติอันดี คุณธรรม และจริยธรรม โดยสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพ  และมีความเป็นมืออาชีพ ยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม  และยังคำนึงถึงความรับผิดชอบทางสังคมที่เหมาะสมต่อชุมชนและสังคมไทย  มีเจตนารมณ์และมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้สภาวะการทำงานที่เหมาะสมและสามารถรักษาสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อย่างสมดุล
  

ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
          แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาจักษุวิทยาโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์
(วัดไร่ขิง) ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถ ขั้นต่ำตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้านดังนี้
1. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
          1.1   สามารถประเมินลักษณะทางคลินิกของโรคทางจักษุที่สำคัญและพบบ่อย รวมถึงสามารถประเมินโรคทางตาที่มีความซับซ้อนในเบื้องต้นและสามารถ ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม (clinical assessment)
          1.2   สามารถตรวจหาสาเหตุและวิเคราะห์โรคในผู้ป่วยโรคทางจักษุ (patient investigation)
          1.3   ดูแลรักษาให้คาแนะนาการป้องกันโรคแก่ผู้ป่วยได้ (patient management)
          1.4   มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคทางจักษุอย่างเหมาะสม (practical skills)
          1.5   สามารถทาหัตถการเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคทางจักษุ (surgical skills)
          1.6   สามารถป้องกันและส่งเสริมสุขภาพตาที่จาเป็น (health promotion and disease prevention)

2. ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนาไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical Knowledge and Skills)
          2.1 มีความรู้ วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจทางจักษุวิทยา
          2.2 มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค การรักษาและป้องกันโรคทางจักษุวิทยา
          2.3 มีทักษะในวิชาชีพ สามารถทาหัตถการพื้นฐานรวมถึงการผ่าตัดทางจักษุวิทยาได้ด้วยตนเอง

  
3. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการพัฒนาตนเอง
          3.1 ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์ได้
          3.2 วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์สาขาจักษุได้
          3.3 เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเอง เช่น การเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการ หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมจักษุวิทยา

4. พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร
           โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)  กำหนดพันธกิจโดยสอดคล้องกับพันธกิจของ
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
          เพื่อฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเฉพาะทางสาขาจักษุวิทยา มุ่งผลิตจักษุแพทย์ที่มีความรู้ความ
เชี่ยวชาญ ทางจักษุวิทยาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการบริการสุขภาพทางด้านจักษุของชุมชนและสังคมของประเทศไทย
           โดยพันธกิจยังครอบคลุมถึงการฝึกอบรมเพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีคุณสมบัติตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน  สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล  ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ  มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพทางจักษุวิทยาอย่างมีเจตคติอันดี   คุณธรรม และจริยธรรม โดยสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพ  และมีความเป็นมืออาชีพ ยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม  และยังคำนึงถึงความรับผิดชอบทางสังคมที่เหมาะสมต่อชุมชนและสังคมไทย  มีเจตนารมณ์และมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้สภาวะการทำงานที่เหมาะสมและสามารถรักษาสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อย่างสมดุล

5. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
          5.1 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
          5.2 มีความเป็นผู้นาในวิชาชีพ
          5.3 มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
 (continuous professional development)
          5.4 มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงานและเพื่อนร่วมวิชาชีพ
          5.5 เคารพสิทธิผู้ป่วย รวมทั้งการรักษาความลับของผู้ป่วย
          5.6 ความสามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้
          5.7 มีความสามารถด้าน non-technical skill



6. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
          6.1 มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
          6.2 มีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
       6.3 ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการ สาธารณสุข ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ